AME IMAGINATIVE

YOUR MEDIA COMMUNICATION
& ACTIVATION PARTNER

SACIT Craft Bangkok 2024 งานคราฟต์ไทยที่ใส่ใจความยั่งยืน

Crafts Bangkok 2024 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Sustainable Arts and Crafts” เชื่อมโยงธรรมชาติ ศิลปหัตถกรรมและนวัตกรรมสู่ความยั่งยืน จัดโดยสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ 𝐬𝐚𝐜𝐢𝐭

โดยรวบรวมงานหัตถกรรมหลากหลายรูปแบบ ตอบโจทย์คนรักงานคราฟต์ในทุกเจเนอเรชั่น มีให้เลือกมากกว่า 400 ร้านค้า

𝐬𝐚𝐜𝐢𝐭 มองการสร้างความยั่งยืนในงานศิลปหัตถกรรมเป็นประเด็นสำคัญไม่ว่าจะเป็นความยั่งยืนที่จะทำให้ผู้คนหันมาตระหนัก และรับรู้คุณค่าเพื่อให้เกิดการส่งต่อภูมิปัญญา ในขณะเดียวกันยังมุ่งให้เกิดความยั่งยืนในอาชีพและรายได้ นอกจากนี้สิ่งสำคัญที่จะมองข้ามไปไม่ได้คือ ความยั่งยืนในเรื่องของสิ่งแวดล้อมเนื่องจากงานศิลปหัตถกรรมเป็นงานที่ส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อย และมีกระบวนการผลิตที่พึ่งพาธรรมชาติไม่สร้างมลภาวะ

ภายในงานประกอบด้วย 5 โซนสำคัญ อาทิ
1.โซน Identity of siam โซน “เอกลักษณ์ของสยาม”
2.โซน Design/Lifestyle การออกแบบผลิตภัณฑ์ตามไลฟ์สไตล์
3.โซน New crafters Zone สำหรับช่างฝีมือรุ่นใหม่
4.โซน Natural-Eco-Product-BCG ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเพื่อสิ่งแวดล้อม
5.โซน Heritage-Authentic โซนมรดกทางวัฒนธรรมที่ได้สืบทอดมา

นอกจากนี้ยังมีส่วนจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง โซนนิทรรศการ Crafts Society และโซนกิจกรรม Workshop ให้ได้ทดลองทำชิ้นงานที่สนใจในแบบของตัวเอง

ระยะเวลาการจัดงาน 24 – 28 สิงหาคมนี้ เวลา 10.00 – 20.00 น.
สถานที่จัดงาน ฮอลล์ 98 – 99 ไบเทค บางนา

ดร.เสรี นนทสูติ ประธานกรรมการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย เป็นประธานเปิดงาน Crafts Bangkok 2024 โดยในปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 7 ภายใต้แนวคิด “Sustainable Arts and Crafts” เชื่อมโยงธรรมชาติ ศิลปหัตถกรรม และนวัตกรรมสู่ความยั่งยืน

คุณวศินบุรี สุพานิชวรภาชน์
.
ArtChangeBuri เป็นโครงการที่นำเอาศิลปะและการออกแบบมาใช้ในรูปแบบที่หลากหลายและเเตกต่างตามบริบทของเหตุการณ์ และความจำเป็น ทั้งยังใช้งานศิลปะหรือการออกแบบมาทำให้ ชีวิตของใครสักคนในชุมชนดีขึ้น เพราะที่จริงเเล้วในทุกท้องถิ่น มีผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือมากมาย
.
ลุงสวรรค์กับป้าศรีอวน เริ่มงานช่างด้วยตนเองหลังจากธุรกิจเดิมที่ทำไม่สามารถไปต่อได้
จากจุดเริ่มต้นที่ลุงได้เห็นวัสดุพื้นบ้านเหลือทิ้ง เช่น กะลามะพร้าว เศษไม้ แล้วมีความคิดที่จะพัฒนาต่อยอด สร้างเป็นงานฝีมือขึ้นมา จึงได้เริ่มลองทำชิ้นงานขึ้นมา เริ่มจากรถตุ๊กตุ๊ก ง่ายๆ จนถึงวันนี้มีรูปแบบมากขึ้น แต่อาจยังไม่หลากหลายพอ ที่ทำให้เข้าถึงคนอีกหลายๆกลุ่มได้ จึงได้เชิญกลุ่มอาจารย์นักออกแบบจาก คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และ ผศ.ดร.ธาตรี เมืองแก้ว คณะมัณฑนศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากรมาร่วมออกแบบชิ้นงานให้มีความหลากหลาย เรียบง่าย และดูร่วมสมัยมากขึ้น
.
โซนนิทรรศการ Crafts Society

คุณปิลันธน์ ไทยสรวง
ผู้ริเริ่มแบรนด์ “ภูคราม” แบรนด์ที่มาจากการทำงาน ที่ได้สังเกตสิ่งรอบตัว ทำให้รู้สึกผูกพัน
.
ภูครามเป็นแบรนด์ผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติด้วยมือ เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างผู้ทำงานและพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและธรรมชาติสิ่งแวดล้อมรอบตัว มุ่งเน้นงานสเกลเล็กแต่หยั่งลึกเข้าไปในแนวความคิดของผู้คนที่ทำงาน ค่อยๆเปลี่ยนความนึกคิดและเห็นคุณค่าของตนเองเเละสิ่งรอบตัวด้วยการเชื่อมโยงสิ่งต่างๆเป็นหนึ่งเดียวกัน เมื่อโครงสร้างความคิดเปลี่ยน จากจุดเล็กๆจะสะท้อนออกไปในวงกว้าง จากบุคคล ครอบครัว หมู่บ้าน ค่อยๆกระเพื่อมขยายออกไปด้านนอก
.
โซนนิทรรศการ Crafts Society